Athletes

By Ardul Butsiri

I have not met my biological family for more than a decade. I was born into a family of 10 children, and my parents were drug addicts. They were incarcerated when I was a child, and the family was separated. While a few of my siblings were adopted, I was sent, at the age of four, to an orphanage because of my intellectual disability.

I have been attending the Lopboru Special School, a government boarding school for children with intellectual disabilities. When I was in Primary school, I was placed in foster care for about five years, but was eventually returned to the orphanage. Growing without a family has been terribly lonely, and difficult to come to terms with. I cannot help but blame and resent my parents for their deeds.

I am naturally introverted, and tend to keep to myself. For many years, I felt alone and struggled to make friends, both in the orphanage and at school. Even now, at the age of 18, I am very quiet and lack the confidence to speak up.

About a year ago, I got to know a social worker at the orphanage who took me under her wing. When I’m with her, I feel safe and cared for. I get along well with her nephew, who is around my age. I now stay with them during the school holidays.

For the first time in years, I feel a sense of belonging. I feel that I have finally found a real family – a parent and sibling who genuinely care for me.

Through my school, I was also introduced to sports. I train in table-tennis, bocce, soccer, and athletics. Over the past few years, I have represented Thailand in several regional Special Olympics competitions.

I am looking forward to stepping on the world stage for the very first time at the upcoming 2019 Special Olympics World Summer Games in Abu Dhabi, to represent Thailand in the 7-a-side Unified Football event. This means that athletes with and without intellectual disabilities will be playing together on the same sporting field.

I understand that the orphanage has been in touch with my biological parents to inform them of my selection for the World Games, but I have refused to meet up with them as memories of my difficult childhood still torment me. It will take me some time before I can come to terms with my past, to forgive, forget, and move forward.

For now, I am concentrating on training hard for the World Games with my team-mates. My coach has commented that he has noticed a positive change in me – that I have become more confident, sociable and cheerful.

Being selected for the World Games has given me a confidence boost, and helped me believe that I am indeed good enough. Discovering my love of sports has given me focus and purpose, and I am now determined to work hard to achieve success and take home a medal for my country.

นางสาวชุติภา   แผ่นสุวรรณ์ ( เจ ) ปัจจุบันอายุ 15  ปี 

เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3/1 โรงเรียนเพชรบุรีปัญญานุกูล จังหวัดเพชรบุรี

นักกีฬาเทเบิลเทนนิส

 

ชุติมาเป็นลูกคนเดียว พ่อแม่หย่าร้าง  อาศัยอยู่กับพ่อและย่า  พ่อมีอาชีพรับจ้างทั่วไป ชุติมาสนิทกับคุณย่าเพราะเลี้ยงมาตั้งแต่ยังเล็ก คุณย่าเล่าว่า แม่ได้ทิ้งชุติมาตั้งแต่ อายุได้ 11 เดือน เพื่อไปมีครอบครัวใหม่ และไม่ติดต่อกลับมาอีกเลย   คุณย่ามีอาชีพรับซื้อของเก่าตามบ้านและหมู่บ้านใกล้ๆ โดยใช้รถมอเตอร์ไซค์พ่วงข้างไปรับซื้อ

ก่อนที่จะเข้าเรียนที่โรงเรียนเพชรบุรีปัญญานุกูลนั้น ได้เรียนที่โรงเรียนวัดเกาะลอยมาก่อน แต่เนื่องจากว่าเรียนไม่ทันเพื่อนๆในชั้นเรียน คุณย่าจึงได้พามาเรียนที่โรงเรียนเพชรบุรีปัญญานุกูล ซึ่งเป็นโรงเรียนกิน-นอน ปิดเทอมจึงจะได้กลับไปเยี่ยมย่าและพ่อ หรือถ้ามีเวลาตรงกับวันหยุดหลายวันชุติพาจะขออนุญาตทางโรงเรียนเพื่อกลับบ้านไปเยี่ยมย่า และพ่อที่จังหวัดราชบุรี

ชุติมาเริ่มเล่นกีฬาเทเบิลเทนนิส ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยมีคุณครูคอยฝึกซ้อมให้ทุกวันหลังเลิกเรียน คุณครูเล่าว่าชุติมาเป็นเด็กขยัน ตั้งใจฝึกซ้อม  ทำให้ได้เป็นตัวแทนของทางโรงเรียนในการแข่งขันระหว่างโรงเรียนอยู่เสมอ ซึ่งนอกจากเล่นกีฬาเทเบิลเทนนิสแล้ว ยังเล่นกีฬากรีฑา และฟุตบอลอีกด้วย

ย่าและพ่อ ดีใจมากที่ชุติมาได้เป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันกีฬาที่เมืองอาบูดาบี  ซึ่งเป็นครั้งแรกที่จะได้นั่งเครื่องบิน ได้เดินทางไปถึงต่างประเทศ  ให้ตั้งใจฝึกซ้อมเป็นเด็กดี อย่าดื้อกับคุณครู เพื่อนๆที่โรงเรียนทราบข่าวก็แสดงความยินดี  แต่สิ่งที่ทำให้ชุติมาดีใจมากที่สุดคือ ได้พบกับหน้าแม่เป็นครั้งแรก เพราะตลอดเวลาเกือบ 15 ปี ที่ไร้ข่าวคราวของแม่ จนกระทั่งทางคุณครูที่โรงเรียนได้ประสานกับเพื่อนที่เป็นตำรวจ  ช่วยกันตรวจค้นรายชื่อว่าปัจจุบันแม่ทำอะไรอยู่ที่ไหน เพื่อที่จะต้องให้แม่มาเซ็นเอกสารในการเดินทางไปแข่งขันที่ต่างประเทศ คุณครูเล่าว่า ช่วงแรกๆคุณแม่ไม่ยอมรับว่าเป็นแม่ แต่พอติดต่อไปหลาย ๆ ครั้ง จึงค่อยยอมรับ แต่ยังคงเก็บตัวและไม่ค่อยพูด ปัจจุบันทำงานรับจ้างทั่วไปอยู่ที่จังหวัดชุมพร  ได้ติดต่อถามข่าวคราวกันบ้าง แต่ก็ไม่ได้บ่อยครั้งนัก

ชุติมารู้สึกดีใจ  ภูมิใจ  และตื่นเต้น มากที่ได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนของประเทศไทยไปแข่งขันต่างประเทศ  พร้อมกับบอกว่าจะดูแลรักษาตัวเองให้แข็งแรง และตั้งใจฝึกซ้อมอย่างเต็มที่ พร้อมกับกล่าวทิ้งท้ายว่าถ้าหนูไม่ได้รับโอกาสที่ดีๆจากทางสมาคมกีฬาสเปเชียลโอลิมปิคแห่งประเทศไทยแล้ว คงไม่มีโอกาสได้เจอแม่  ขอบคุณมากๆ ค่ะ