กติกากีฬาว่ายน้ำ

กติกากีฬาว่ายน้ำ

กีฬาว่ายน้ำ

 การแข่งขันกีฬาว่ายน้ำของสเปเชียลโอลิมปิค  ให้เป็นไปตามกติกาว่ายน้ำของสเปเชียลโอลิมปิค  ซึ่งได้จัดทำขึ้นบนพื้นฐานของกติกาว่ายน้ำสากลของสหพันธ์ว่ายน้ำนานาชาติ  (FINA)  โดยให้ปฎิบัติตามกติกาว่ายน้ำของสหพันธ์ฯ  (FINA)  ยกเว้นในกรณีที่ขัดกับกติกาของสเปเชียลโอลิมปิค  ในกรณีเช่นนี้ขอให้ถือกติกาสเปเชียลโอลิมปิคเป็นเกณฑ์

นักกีฬาที่เป็นดาวน์ซินโดรมที่มีปัญหา  Atlanta – Axial  Instability  จะไม่ได้รับอนุญาตให้แข่งขันรายการว่ายผีเสื้อ  และการกระโดดลงน้ำด้วยศีรษะ

หมวด  ก  รายการแข่งขัน

การแข่งขันจะต้องจัดในสระว่ายน้ำมาตรฐานสากล  (25  เมตร  หรือ  50  เมตร)  ได้แก่รายการ

  1. ว่ายฟรีสไตล์ 50         เมตร
  2. ว่ายฟรีสไตล์          100       เมตร
  3. ว่ายฟรีสไตล์          200       เมตร
  4. ว่ายฟรีสไตล์           400       เมตร
  5. ว่ายฟรีสไตล์           800       เมตร
  6. ว่ายฟรีสไตล์ 1,500       เมตร
  7. ว่ายกรรเชียง           50       เมตร
  8. ว่ายกรรเชียง          100       เมตร
  9. ว่ายกรรเชียง            200       เมตร
  10. ว่ายกบ   25       เมตร
  11. ว่ายกบ   50       เมตร
  12. ว่ายกบ 100       เมตร
  13. ว่ายกบ 200       เมตร
  14. ว่ายผีเสื้อ                25       เมตร
  15. ว่ายผีเสื้อ              50        เมตร
  16. ว่ายผีเสื้อ             100       เมตร
  17. ว่ายผีเสื้อ             200       เมตร
  18. ว่ายเดี่ยวผสม 100       เมตร
  19. ว่ายเดี่ยวผสม 200       เมตร
  20. ว่ายเดี่ยวผสม 400         เมตร
  21. ว่ายผลัดฟรีสไตล์ 4×25        เมตร
  22. ว่ายผลัดฟรีสไตล์ 4×50       เมตร
  23. ว่ายผลัดฟรีสไตล์ 4×100       เมตร
  24. ว่ายผลัดฟรีสไตล์ 4×200       เมตร
  25. ว่ายผลัดผสม 4×25       เมตร
  26. ว่ายผลัดผสม 4×50      เมตร
  27. ว่ายผลัดผสม 4×100      เมตร
  28. ว่ายผลัดฟรีสไตล์ยูนิฟายด์ 4×25     เมตร
  29. ว่ายผลัดฟรีสไตล์ยูนิฟายด์ 4×50     เมตร
  30. ว่ายผลัดฟรีสไตล์ยูนิฟายด์ 4×100   เมตร
  31. ว่ายผลัดฟรีสไตล์ยูนิฟายด์ 4×200   เมตร
  32. ว่ายผลัดผสมยูนิฟายด์ 4×25     เมตร
  33. ว่ายผลัดผสมยูนิฟายด์ 4×50     เมตร
  34. ว่ายผลัดผสมยูนิฟายด์ 4×100   เมตร

ต่อไปนี้เป็นรายการสำหรับนักกีฬาทักษะต่ำ

  1. ว่ายฟรีสไตล์ 25         เมตร
  2. ว่ายกรรเชียง 25         เมตร
  3. เดินในน้ำ 15         เมตร
  4. ลอยตัวในน้ำ 15         เมตร
  5. ลอยตัวในน้ำ 25         เมตร
  6. ว่ายพร้อมการช่วยเหลือ 10      เมตร
  7. ว่ายโดยปราศจากการช่วยเหลือ 15    เมตร

หมวด  ข  บุคลากร

  1. ไลฟ์การ์ด ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
    • ผ่านการฝึกอบรม และได้รับการรับรองการช่วยชีวิตทางน้ำ  (Lifesaving)  ไม่เกิน  2  ปี
    • ผ่านการฝึกอบรม และรับรองด้าน  CPR  ไม่เกิน  2  ปี
    • ผ่านการฝึกอบรม และรับรองด้านปฐมพยาบาล  ไม่เกิน  2  ปี

โดยเป็นการรับรองจากองค์กร  สภากาชาด  หรือ  ชมรมช่วยชีวิตทางน้ำ  หรือ  เทียบเท่า  ผู้ที่ปฎิบัติหน้าที่  ไลฟ์การ์ด  จะไม่สามารถปฎิบัติงานด้านอื่นในขณะเดียวกัน

  1. หัวหน้าผู้ฝึกสอน
    • ได้รับการรับรองเป็นผู้ฝึกสอนจากสเปเชียลโอลิมปิคไทย
    • ได้รับการรับรองด้าน CPR  และปฐมพยาบาล  ไม่เกิน  2  ปี
    • มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการช่วยชีวิตทางน้ำ
  1. ผู้อำนวยการการแข่งขัน (Meet Director) 

ผู้อำนวยการการแข่งขันเป็นผู้รับผิดชอบ  การดำเนินการภายในการจัดการแข่งขันทั้งหมด

  • ให้การอบรมฝึกฝนบุคลากร / กรรมการจัดการแข่งขัน
  • ตรวจสอบความเรียบร้อยเหมาะสมถูกต้อง ตามมาตรฐานของสถานที่อุปกรณ์
  • จัดทำควบคุมการปฏิบัติงาน และคุณภาพของการทำงานทั้งระบบ
  • วางแผนการดำเนินการในกรณีฉุกเฉินซึ่งระบุในหมวด ค.
  • จัดสถานที่จัดการแข่งขันเพื่อเตรียมการในการรองรับในเรื่อง

–  อุปกรณ์ช่วยชีวิต

–  ขอบเขตของการใช้พื้นที่โดยบุคคลประเภทต่าง ๆ  (การแบ่งโซน)

–  ความสะอาด  และคุณภาพของน้ำ

–  สภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย  ในการรักษาความปลอดภัย  และช่วยชีวิต

–  นักกีฬาพิเศษที่มีปัญหาด้านสุขภาพ  โดยให้ไลฟ์การ์ดมีความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่   

   โดยเฉพาะนักกีฬาพิเศษที่มีปัญหาเกี่ยวกับการชัก

–  ข้อจำกัดในการแข่งขันของนักกีฬาดาวน์ซินโดรม  ที่มีปัญหา  Atlanta – Axial  Instability   โดย 

   ผู้อำนวยการการแข่งขันจะต้องศึกษากติกาทั่วไปของสเปเชียลโอลิมปิค  ในเรื่องของข้อจำกัด

   ดังกล่าว

  1. กรรมการผู้ตัดสิน (Referee, Time Judge)

กรรมการผู้ตัดสิน  ได้แก่  หัวหน้าผู้ตัดสิน  หัวหน้ากรรมการจับเวลา  กรรมการดูฟาล์ว  และกลับตัว  รวมถึงผู้ปล่อยตัวจะต้องผ่านการรับรองในการปฏิบัติหน้าที่นั้น ๆ จากสมาคมกีฬา  หรือ  สหพันธ์กีฬาของประเทศ

หมวด  ค  มาตรการในด้านความปลอดภัย

            การฝึกซ้อม  และแข่งขันกีฬาสเปเชียลโอลิมปิค  จะต้องดำเนินการภายใต้มาตรการรักษาความปลอดภัย  ที่ดูแลความปลอดภัย  และสุขภาพของนักกีฬาพิเศษ  ผู้ฝึกสอน  และอาสาสมัคร  ดังต่อไปนี้

  1. ระเบียบทั่วไป
    • มีไลฟ์การ์ดประจำการ 1  คน  สำหรับนักว่ายน้ำที่อยู่ในสระทุก ๆ 25  คน
    • หน้าที่รับผิดชอบของไลฟ์การ์ด คือ  การรักษาความปลอดภัย  ในกรณีที่ไลฟ์การ์ดต้องพักการปฏิบัติงานช่วงเวลาหนึ่ง  และในเวลานั้นไม่มีผู้ใดปฎิบัติงานแทน  จะต้องให้ทำการหยุดการฝึกซ้อม / แข่งขันในช่วงระยะเวลานั้น ๆ ที่ไม่มีไลฟ์การ์ดประจำการ
    • ผู้อำนวยการแข่งขันจะต้องกำหนดแผนการ เพื่อใช้ในยามฉุกเฉินก่อนเริ่มงาน  และตรวจสอบว่ามีผู้ฝึกสอนในจำนวนที่เหมาะสมพอเพียงสำหรับการปฎิบัติงานหรือไม่
    • ประวัติสุขภาพของนักกีฬาพิเศษ จะต้องมีพร้อม  และได้มีการตรวจสอบข้อมูลของนักกีฬาพิเศษ  เพื่อรับทราบความเสี่ยงของนักกีฬาบางคน  และเตรียมการรองรับไว้ล่วงหน้า
    • ความลึกของสระจะต้องแสดงให้เห็นอย่างชัดเจน
    • ความลึกที่จุดกระโดดจากแท่นกระโดด จะต้องไม่ต่ำกว่า  52  เมตร  (5  ฟุต) 

อนุญาตให้นักกีฬากระโดดจากขอบสระได้กรณีที่สระมีความลึก  ไม่ต่ำกว่า  1.22  เมตร  (4  ฟุต) 

ไม่อนุญาตให้กระโดดจากสปริงบอร์ด  ยกเว้นในกรณีที่มีความลึกไม่ต่ำกว่า  2.74  เมตร  (9  ฟุต)

  • ต้องกั้นเขตน้ำลึก และน้ำตื้นด้วยลู่  ในกรณีที่ไม่ได้แข่งขันว่ายน้ำ
  • ไม่อนุญาตให้นักกีฬาพิเศษผู้ใดใช้สระว่ายน้ำจนกว่าได้รับการตรวจสอบ และยอมรับจากผู้อำนวยการแข่งขัน
  • นักว่ายน้ำดาวน์ซินโดรม ซึ่งได้พบว่ามี  Atlanta – Axial  Instability   จะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าแข่งขันรายการว่ายผีเสื้อ  หรือ  กระโดดลงน้ำด้วยศีรษะ
  1. แผนการในยามฉุกเฉิน (Emergency Plan)

            กำหนดให้มีแผนการในยามฉุกเฉิน  เพื่อบังคับใช้ในกรณีจำเป็น  ก่อนที่นักกีฬาใด ๆ จะลงไปในสระว่ายน้ำ  แผนการนี้จะต้องแสดงรายละเอียดอย่างชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร  และมีการประชุมรับทราบในกลุ่มของผู้ปฏิบัติงานอย่างเรียบร้อย  ก่อนเริ่มงาน  แผนการดังกล่าวจะต้องครอบคลุมเรื่อง

             2.1  การติดต่อขอความช่วยเหลือทางการแพทย์  จากนอกบริเวณสระว่ายน้ำ  ในกรณีที่ไม่มีแพทย์พยาบาล

                  ประจำที่สระว่ายน้ำ

            2.2   ตำแหน่งจุดประจำการ  และพื้นที่รับผิดชอบของไลฟ์การ์ดแต่ละคน

     2.3   ระบบในการรับข้อมูลพยากรณ์อากาศ  โดยเฉพาะในกรณีที่เป็นสระอยู่ในที่แจ้ง

            2.4   โครงสร้างการปฎิบัติงาน  และขั้นตอนของการบังคับบัญชา  รวมถึงการกำหนดหน้าที่ของผู้ที่จะต้อง

                   แถลงข่าวให้กับสื่อมวลชน  เมื่อเกิดเหตุการณ์ร้ายแรง

            2.5  มาตรการอื่น ๆ ที่ต้องเป็นไปตามแม่บทกฎหมาย

  1. คุณสมบัติของบุคลากร

            การจัดกิจกรรมกีฬาว่ายน้ำสเปเชียลโอลิมปิคทุกรายการ  จะต้องมีบุคลากรปฏิบัติงานในจำนวนที่เหมาะสม  และมีคุณสมบัติถูกต้องกับหน้าที่รับผิดชอบ  ดังนี้

   3.1   กิจกรรมนันทนาการในน้ำ

    ก.  มีจำนวนไลฟ์การ์ดดูแลความปลอดภัย  1  คนต่อจำนวนนักกีฬาพิเศษในน้ำ  25  คน

   3.2  การฝึกซ้อมว่ายน้ำ

    ก.  มีจำนวนไลฟ์การ์ดในสัดส่วน  1  ต่อ  25

    ข.  มีผู้ฝึกสอน  (ควรได้รับการรับรองจากสเปเชียลโอลิมปิคไทย)  ที่ให้การดูแล  และสอนนักกีฬาพิเศษ

         แต่ละคน

         3.3  การแข่งขันว่ายน้ำ

   ก.  มีจำนวนไลฟ์การ์ดในสัดส่วน  1  ต่อ  25 

   ข.  มีผู้ฝึกสอน  1  คน  ที่สามารถให้การดูแลนักกีฬาพิเศษที่มีความเสี่ยงทุก ๆ 2  คน  (ความเสี่ยงในการ

        ชัก  หรือ  อาการอื่น ๆ เกี่ยวกับสุขภาพ)

                 ค.  มีผู้ฝึกสอน  1  คนที่สามารถให้การดูแลนักกระโดดน้ำพิเศษ  10  คน

หมวด  ง  ระเบียบทั่วไป

            กติกาด้านเทคนิคกีฬาว่ายน้ำ  จะต้องเป็นไปตามกติกาสหพันธ์ว่ายน้ำนานาชาติ  (FINA)  ยกเว้นในกรณีข้างล่างนี้ ที่ให้ปฏิบัติตามกติกาสเปเชียลโอลิมปิคที่กำหนดไว้

  1. ทุกรายการ
    • ผู้ตัดสินชี้ขาดประจำการแข่งขัน (Meet Referee)  ด้วยการยินยอม  และร่วมมือจากผู้อำนวยการแข่งขัน  (Meet  Director)  สามารถปรับกติกาเป็นกรณี  เพื่อความปลอดภัย  และสุขภาพของนักกีฬา  ผู้ตัดสินชี้ขาด  สามารถหยุด  หรือ  ยับยั้งการแข่งขันได้ในทุกเวลา  เพื่อดำเนินการในด้านการรักษาความปลอดภัย  และจะเป็นผู้ตัดสินการประท้วงการแข่งขันที่อาจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ดังกล่าว
    • ผู้ตัดสินชี้ขาด สามารถปรับกติกาเทคนิคเพื่อรองรับความพิการ  หรือ  ข้อจำกัดของนักกีฬา  ซึ่งจะต้องแถลงการณ์ปรับเปลี่ยนกติกานั้น ๆ ให้ทุกฝ่ายรับทราบก่อนรอบชิงชนะเลิศ  โดยการปรับกติกาจะต้องไม่ให้คู่ต่อสู้เกิดการเสียเปรียบ  การตีความเรื่องเทคนิคสโตร์คจะต้องพิจารณาในเรื่องของการเคลื่อนไหวของแขน  และขา  ดังนั้น  กรรมการดูสโตร์ค  (Stroke Judge)  จะต้องพิจารณาตัดสินการจับฟาล์วสโตร์ค  จากวิธีที่แขนและขาของนักกีฬาผู้นั้นเคลื่อนไหว
    • ผู้อำนวยการแข่งขันจะเป็นผู้ที่มีอำนาจสูงสุด ในการควบคุมกรรมการผู้ตัดสิน  การกำหนดความรับผิดชอบของกรรมการทุกฝ่าย  และชี้แจงอบรมกรรมการในระเบียบของกีฬาสเปเชียลโอลิมปิค  ที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขัน  ผู้อำนวยการแข่งขันจะเป็นผู้ควบคุมมาตรฐานของการจัดการแข่งขัน  ซึ่งรวมถึงการปฏิบัติตามระเบียบที่กำหนดโดย  FINA  และสเปเชียลโอลิมปิคอย่างเคร่งครัด  โดยจะเป็น ผู้ตัดสินชี้ขาดในกรณีใด ๆ ที่อยู่นอกเหนือระเบียบข้อบังคับที่ระบุไว้
    • อนุญาตให้นักว่ายน้ำใช้เท้าแตะพื้น หรือ  ยืนบนพื้นสระได้  ในขณะที่ว่ายท่าฟรีสไตล์  และขณะที่ว่ายท่าฟรีสไตล์ในรายการเดี่ยวผสม  แต่จะไม่อนุญาตให้นักว่ายน้ำเดินโดยเด็ดขาด
    • อนุญาตให้นักว่ายน้ำยืนบนพื้นสระได้เฉพาะในกรณีที่พัก หากนักว่ายน้ำเดิน  หรือ  กระโดดจะถือว่าฟาล์ว
    • อนุญาตให้กรรมการช่วยนักว่ายน้ำ ให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง  ณ  จุดออกสตาร์ต
    • ไม่อนุญาตให้นักว่ายน้ำสวมใส่ หรือ  ใช้อุปกรณ์ทุ่นแรง  หรือ  เครื่องมือในการเพิ่มความเร็วใด ๆ   (ยกเว้นทุ่นลอยตัวสำหรับนักกีฬาทักษะต่ำ  ในรายการลอยตัว)  เช่น  ตีนกบ  /  ฟิน  เป็นต้น  อนุญาตให้นักว่ายน้ำสวมแว่นตากันน้ำได้
    • อนุญาตให้ช่วยเหลือนักว่ายน้ำในน้ำได้ ถ้าได้รับการขอร้อง
  1. อุปกรณ์
    • อนุญาตให้ใช้การส่งสัญญาณปล่อยตัวด้วย นกหวีด  หวูด  (Horn)  หรือ  ปืน  นักว่ายน้ำที่บกพร่องทางการได้ยินเสียง  จะต้องได้รับการส่งสัญญาณมือจากผู้ปล่อยตัว  หรือ  การสัมผัสจากกรรมการในลู่ว่าย  หรือ  ใช้สัญญาณแสงไฟ  (Strobe Light)  ในกรณีนี้
    • ลู่ตัดคลื่น
    • นาฬิกาจับเวลา กำหนดให้ใช้อย่างน้อยลู่ละ  1  เรือน
    • ธงกรรเชียง 2  ด้าน
    • เชือกฟาล์วด้านปล่อยตัว
    • สำหรับรายการประเภทลอยตัว (สำหรับนักกีฬาทักษะต่ำ)  อุปกรณ์ลอยตัวต้องอยู่รอบ ๆ ลำตัวของนักว่ายน้ำเพื่อพยุงให้ศีรษะใบหน้าลอยอยู่เหนือน้ำ  แต่จะไม่อนุญาตให้นักว่ายน้ำจับอุปกรณ์ใด ๆ ไม่อนุญาตให้ใช้  Kickboard หรือ  ห่วงยางรัดแขน
  1. รายการว่ายผลัด
    • แต่ละทีมประกอบด้วยผู้ว่าย 4  คน
    • นักว่ายน้ำแต่ละคนต้องว่ายระยะทาง 1  ใน  4  ของระยะทางทั้งหมด  ไม่อนุญาตให้นักว่ายน้ำคนใด  ว่ายในระยะทางที่แตกต่างจากสมาชิกอื่นในทีม
    • นักว่ายน้ำทุกคนในทีมต้องเป็นผู้แทนของสถาบัน หรือ  สโมสรสังกัดเดียวกัน
    • ทีมว่ายผลัดใด ๆ ที่มีสมาชิกชาย และหญิง  รวมกันจะต้องแข่งขันในรายการเพศชาย
    • สมาชิกที่จบการว่ายแล้วจะต้องขึ้นจากสระให้เร็วที่สุดหลังการว่าย
  1. รายการลอยตัว (Floation)  และเดินในน้ำ  (Walking)

เป็นรายการที่เปิดโอกาสให้นักกีฬาทักษะต่ำได้มีส่วนร่วมในการแข่งขัน

  • รูปแบบการจัด

–  มีผู้ดูแล  1  คนต่อนักว่ายน้ำพิเศษ  1  คน

–  กำหนดจุดเริ่มต้นในน้ำที่ระบุระยะทางถึงเส้นชัยอย่างชัดเจน

–  สำหรับรายการเดิน  สระต้องไม่ลึกเกิน  1  เมตร  (3.5  ฟุต)

–  ควรมีกรรมการผู้ตัดสินที่ได้รับการรับรองจากทางการ

  • กติกา

–  ในรายการเดินในน้ำ  เท้าของนักว่ายน้ำจะต้องแตะพื้นสระอย่างน้อย  1  ข้างตลอดเวลา

–  อุปกรณ์ / ทุ่นช่วยในการลอยตัวต้องเป็นไปตามที่ระบุ  (ดูข้อ  2.6)

  1. รายการว่ายน้ำโดยปราศจากการช่วยเหลือ (Unassisted Swim)

เป็นรายการที่เปิดโอกาสให้นักกีฬาทักษะต่ำได้มีส่วนร่วมในการแข่งขัน

–  นักว่ายน้ำต้องว่ายให้ครบระยะทางที่ระบุ / สมัคร  โดยอนุญาตให้ผู้ดูแล  หรือ  ผู้ฝึกสอนยืนให้กำลังใจ    

   จากข้างนอกลู่ว่ายของนักว่ายน้ำผู้นั้น  แต่ไม่อนุญาตให้สัมผัสตัวนักกีฬา  หรือ  ให้การช่วยเหลือใด ๆ

  1. รายการว่ายน้ำพร้อมการช่วยเหลือ (Assisted Swim)

เป็นรายการที่เปิดโอกาสให้นักกีฬาทักษะต่ำได้มีส่วนร่วมในการแข่งขัน

–  นักว่ายน้ำมีผู้ดูแล  หรือ  ผู้ฝึกสอนประจำตัว  ผู้ช่วยสามารถสัมผัส  และชี้นำทิศทางการว่ายน้ำให้กับ

   นักกีฬา  แต่ไม่อนุญาตให้พยุงตัว  หรือ  ผลัก  หรือ  ดึงนักว่ายน้ำเพื่อเพิ่มความเร็ว  นักว่ายน้ำสามารถใช้

   อุปกรณ์ช่วยการลอยน้ำตามที่ระบุในข้อ  2.6  ผู้ช่วยอาจอยู่ในน้ำ  หรือ  บนบกก็ได้ 

  1. กีฬายูนิฟายด์

เฉพาะรายการว่ายผลัดเท่านั้น

–  ในทีมผลัด  1  ทีมจะประกอบด้วยนักกีฬาพิเศษ  2  คน  และคู่ยูนิฟายด์  2  คน

–  ในทีมผลัดยูนิฟายด์  นักกีฬาพิเศษ  และคู่ยูนิฟายด์จะว่ายในลำดับใดก็ได้

แปลจาก  2004 – 2007 Revised  Special Olympics Summer Sports Rule  :  AQUATICS  (as of March 2006)

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *